รายการบล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การตราพระราชกำหนด
          รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐสภาเป็นองค์กรที่มีอำนาจนิติบัญญัติ โดยมีอำนาจหน้าที่สำคัญในการบัญญัติกฎหมาย ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐสภาเป็นผู้แทนของประชาชน การบัญญัติกฎหมายจึงถือได้ว่าเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของปวงชน ด้วยเหตุแห่งความจำเป็นในสถานการณ์บางสถานการณ์และข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาของรัฐสภา รัฐธรรมนูญจึงได้บัญญัติให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตรากฎหมายได้ แล้วนำมาขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาในภายหลัง เรียกว่า พระราชกำหนด โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดเงื่อนไขในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร ในการตราพระราชกำหนดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2250 ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 184-186
          มาตรา 184 บัญญัติว่า ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
          การตราพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
          ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็ว ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือสภาผู้แทนอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันอนุมิติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่าที่ใช้พระราชกำหนดนั้น
          หากพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด และพระราชกำหนดนั้นต้องตกไปตามวรรคสาม ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก มีผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผล
          ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้น หรือถ้าวุฒสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
          การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในกรณีไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
          การพิจารณาพระราชกำหนดของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภาในกรณียืนยันการอนุมัติพระราชกำหนด จะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้นๆ
          มาตรา 185 บัญญัติว่า ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใดตามมาตรา 185 วรรคสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา 184 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ส่งความเห็นนั้นมา
          เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒสภาได้รับความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้รอการพิจารณาพระราชกำหนดนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง
          ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 184 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด
          มาตรา 186 บัญญัติว่า ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินพระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
          พระราชกำหนดที่ได้ตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้นำบทบัญญัติมาตรา 184 มาใช้บังคบโดยอนุโลม
         
เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะเห็นได้ว่าคณะรัฐมนตรีมีอำนาจในการตราพระราชกำหนดได้ กรณี คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งสามารถเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่างได้ดังตารางต่อไปนี้


การเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่าง                                                                          ในการตราพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 และมาตรา 185
มาตรา 184
มาตรา 186
1. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
1. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
2. เพื่อประโยชน์ในอันที่จะ
     2.1 รักษาความปลอดภัยของประเทศ
     2.2 รักษาความปลอดภัยสาธารณะ
     2.3 รักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
     2.4 ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
2. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน

3. พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
3. พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
4. คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้                                              
4. คณะรัฐมนตรีมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยเร่งด่วนและลับ
5. เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้าและโดยเร็วเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
5. จะต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ภายใน วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
6. การนำเสนอต่อรัฐสภา โดยในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ถ้านอกสมัยประชุมคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ
6. ในระหว่างสมัยประชุม
7. สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่าที่ใช้พระราชกำหนดนั้น (มาตรา 184 ว.3)

7. นำรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 มาใช้โดยอนุโลม
มาตรา 184
มาตรา 186
8. หากพระราชกำหนดนั้น มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด และพระราชกำหนดนั้นต้องตกไป ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก   มีผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผล
8. นำรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 มาใช้โดยอนุโลม
9. ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้นหรือถ้าวุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรให้พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
9. นำรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 มาใช้โดยอนุโลม
10. การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
10. นำรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 มาใช้โดยอนุโลม
11. การพิจารณาพระราชกำหนดของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภาในกรณียืนยันการอนุมัติพระราชกำหนดจะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้นๆ
11. นำรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 มาใช้โดยอนุโลม

          กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐบาลมีอำนาจในการตราพระราชกำหนด ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติที่ตราโดยสภาได้ แต่การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และต้องขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาในภายหลัง นอกจากนั้น เพื่อให้พระราชกำหนดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่แท้จริง รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนดอีกด้วย ซึ่งก็คือศาลรัฐธรรมนูญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น